วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


แรงดันอากาศแรงดันของอากาศหรือ ความดันของอากาศ นั้น ในการพยากรณ์อากาศจะเรียกว่า ความกดอากาศ จะมีอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอากาศห่อหุ้มโลกอยู่เป็นจำนวนมาก จะมีน้ำหนักกดลงบนผิวโลก บนตัวเรา หรือ บนวัตถุต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาความกดดันของอากาศ มีค่าประมาณ 15 ปอนด์ ต่อ พื้นที่ 1 ตารางนิ้วที่ระดับน้ำทะเล ซึ่งเรียกความกดดันนี้ว่า "ความกดดัน 1 บรรยากาศ" ซึ่งเท่ากับ 760 มิลลิเมตรของปรอทในการวัดความดันอากาศ เรามักวัดเป็นส่วนสูงของน้ำ หรือส่วนสูงของปรอท ทอริเซลลิ (Toricelli) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน เป็นคนแรกที่คิดหาความดันของอากาศโดยใช้ ปรอทศึกษาความดันบรรยากาศแล้วนำไปสร้างเครื่องมือวัดความดันบรรยากาศเรียก ว่า "บารอมิเตอร์" (baromiter)บารอมิเตอร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดความดันอากาศ ที่นิยมใช้ ได้แก่1.บารอมิเตอร์แบบปรอท สร้างขึ้นดดยใช้หลักการที่อากาศสามารถดันของเหลวให้เข้าไปในหลอดแก้ว เครื่องมือนี้ ประกอบด้วย หลอยแก้ว ปลายปิดด้านหนึ่งและไล่อากาศออก แล้วคว่ำหลอดแก้วลงในภาชนะที่บรรจุปรอท อากาศภายนอกจะดันปรอทเข้าสู่หลอดแก้ว ที่ระดับน้ำทะเล ลำปรอทในหลอดแก้วจะสูง 760 มิลลิเมตร (ถ้าใช้น้ำ แทนปรอท อากาศจะดันน้ำขึ้นสูง 10 เมตร เพราะน้ำเบากว่า 13.6 เท่า) ความดัน 1 บรรยากาศ คือความดันที่ทำให้ลำปรอทขึ้นสูง 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร2.แอนิรอยด์บารอมิเตอร์ เป็นตลับโลหะ อาจเป็นอลูมิเนียมรูปร่างกลมแบน ผิวเป็นคลื่น ก้นตลับติดกับกรอบโลหะที่แข็งแรง ภายในตลับสูบอากาศออกเกือบหมด ฝาตลับจึงบุบขึ้นลงตามความดันของอากาศภายนอก ตอนบนฝาตลับมีสปริงที่ต่อไปที่คานและเข็มซึ่งชี้บนหน้าปัดที่มีตัวเลขแสดง ความดันของอากาศ3.บารอกราฟ เป็นเครื่องวัดความดันอากาศแบบแอนิรอยด์บารอมิเตอร์ แต่บันทุกความดันอากาศแบบต่อเนื่องกัน โดยแกนที่ขึ้นลงตามการบุบตัวของตลับโลหะ จะดันเข็มชี้ให้ปลายเข็ม เลื่อนขึ้นลงบนกระดาษกราฟ ซึ่งหมุนตลอดเวลา เราจึงสามารถอ่านค่าความกดอากาศในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ บารอมิเตอร์แบบนี้ใช้ในการพยากรณ์อากาศ*ถ้าต้มน้ำในที่สูง จุดเดือดจะลดลงแต่ถ้าต้มในระดับน้ำทะเลจะมีจุดเดือด 100 องศาแอลติมิเตอร์ (พัฒนา มาจากแอนิรอยด์บารอมิเตอร์) เป็นเครื่องวัดระดับความสูง ใช้หลักการแบบแอนิรอยด์ แต่ปรับหน้าปัดให้อ่านระดับความสูงได้ด้วย ใช้สำหรับบอกความสูงของเครื่องบินและติดตัวนักโดดร่ม เพื่อบอกความสูง


[ ค้นหาเว็บบอร์ดทุกโรงเรียน แวะไปล่างสุดโฮมเพจ Dek-D ]
เขียนโดย ด.ญ. สุกัญญา วันดี0 ความคิดเห็น

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

1/7 ด.ช. ชลการต์ กอผจญ ด.ช. ชาญวิทย์ หลวงนวน ด.ช. ฐาปนพงศ์ ลับเนตร ด.ช. ธนายุทธ ยอดคำ ด.ช. ธีรภัทร์ ขัดคำ ด.ช. นพเก้า เคราะห์ดี ด.ช. นรากร ยาน้อย ด.ช. นัทธพงศ์ พุฒโต ด.ช. นิเวศน์ มิ่งด่าง ด.ช. พิสิฐ ฉัตรทอง ด.ช. พีรพล อุบล ด.ช. เพิ่มพูน ชัยโพธิ์ ด.ช. รัชชานนท์ จันทร์หง ด.ช. เศรษฐรัตน์ บุรี ด.ช. สมเกียรติ ใจดี ด.ช. สมรส พูลดี ด.ช. อภิสิทธิ์ เนาวรัตน์ ด.ช. โอภาส ทองสุข ด.ญ. กนกวรรณ เที่ยงตรง ด.ญ. กานติมา ช่วยกล่อม ด.ญ. ขนิษฐา จงบริบูรณ์ ด.ญ. จารุวรรณ เข็มทิศ ด.ญ. ชนรรถภรณ์ จุ้ยคลัง ด.ญ. ชลธิชา บุญมา ด.ญ. ดารุณี ระวังภัย ด.ญ. นัทมล ดาราดิลก ด.ญ. ปภาวรินท์ สิทธิชัย ด.ญ. พิชญานันท์ เทียมแสน ด.ญ. รัชฎาพร นภดล ด.ญ. ฤทัยวรรณ อินทะ ด.ญ. วัชรียา มิ่งด่าง ด.ญ. ศิรินภา ทองคำ ด.ญ. ศิรินุช ลือก้อง ด.ญ. สัญญกมล พึ่งทรัพย์ ด.ญ. สาวิตรี พละสมบูรณ์ ด.ญ. สุกัญญา วันดี ด.ญ. สุจรรยา มีท้วม ด.ญ. สุชาดา จาบกุล ด.ญ. สุดารัตน์ ผลชื่น ด.ญ. อรพรรณ ทางประโยชน์
เขียนโดย sukanya ที่ 0:59 0 ความคิดเห็น

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนางามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุขสุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 1780-1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทยในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชรทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดตาก และจังหวัดลำปางสุโขทัยมรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการะแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุขสุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ ๗๐๐ ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง สุโขทัยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๔๒๗ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๖,๕๙๖ ตารางกิโลเมตรคำว่า “สุโขทัย” มาจากคำสองคำคือ “สุข+อุทัย” หมายความว่า “รุ่งอรุณแห่งความสุข” สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ. ศ. ๑๘๐๐ มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ตลอดระยะเวลา ๑๒๐ ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย วางรากฐานการเมือง การปกครอง และศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ความรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัยได้กลายเป็นอดีตไปแล้วตามวัฏจักรความจริงที่ว่า มีเจริญก็ย่อมมีเสื่อม เมืองคู่แฝด (สุโขทัยและศรีสัชนาลัย) อันลือลั่นและเกรียงไกรเหลือเพียงซากปรักหักพังไว้เป็นอนุสรณ์ แต่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสุโขทัยก็ควรเคารพต่อวิญญาณบรรพบุรุษ และท่องเที่ยวโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อชื่นชมพร้อมย้อนรอยอดีตในเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยอันยาวนานจังหวัดสุโขทัยแบ่งการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอ คือ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ อำเภอคีรีมาศอำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีนครอาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชรทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดตาก และจังหวัดลำปางการเดินทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ ๒ เส้นทาง คือ๑. จากทางหลวงหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ และกำแพงเพชร เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอพรานกระต่าย และอำเภอคีรีมาศ เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง ๔๔๐ กิโลเมตร๒. จากทางหลวงหมายเลข ๑ ไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ ๕๐ บริเวณแยกอำเภอบางปะอินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยามุ่งสู่นครสวรรค์ แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๗ ตรงเข้าจังหวัดพิษณุโลก แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒ เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง ๔๒๗ กิโลเมตรรถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่ง หมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๗ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. ๐ ๒๕๓๗ ๘๐๕๕-๖, ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ สถานีขนส่งจังหวัด โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๓๒๙๖และ HYPERLINK "http://www.transport.co.th" www.transport.co.thนอกจากนี้ยังมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท วินทัวร์ จำกัด โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๑๐๓๙ กรุงเทพฯโทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๗๕๓ บริษัท พิษณุโลกยานยนต์ จำกัด โทร. ๐ ๕๕๒๕ ๘๖๔๗, ๐ ๕๕๒๕ ๘๙๔๑ กรุงเทพฯโทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๙๒๔-๕รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถด่วน และรถเร็วออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปลงที่สถานีพิษณุโลกทุกวัน แล้วเดินทางต่อโดยรถประจำทางไปจังหวัดสุโขทัยอีกประมาณ ๕๙ กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ HYPERLINK "http://www.railway.co.th" www.railway.co.thเครื่องบิน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด มีเที่ยวบินตรงไปสุโขทัย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. ๐ ๒๒๖๕ ๕๖๗๘, ๐ ๒๒๖๕ ๕๕๕๕ สาขาสุโขทัย โทร. ๐ ๕๕๖๔ ๗๒๒๔-๕ HYPERLINK "http://www.bangkokair.com" www.bangkokair.comและ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลกทุกวัน โทร ๐ ๒๓๕๖ ๑๑๑๑,๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ และ ๐ ๒๒๘๘ ๗๐๐๐ แล้วเดินทางไปสุโขทัยต่อโดยรถยนต์ สอบถามเที่ยวบินเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ สาขาพิษณุโลก โทร. ๐ ๕๕๒๔ ๒๙๗๑-๒ HYPERLINK "http://www.thaiairways.com" www.thaiairways.comระยะทางจากตัวเมืองไปอำเภอใกล้เคียงอำเภอศรีสำโรง ๒๐ กิโลเมตรอำเภอกงไกรลาศ ๒๑ กิโลเมตรอำเภอคีรีมาศ ๒๒ กิโลเมตรอำเภอบ้านด่านลานหอย ๒๘ กิโลเมตรอำเภอสวรรคโลก ๓๘ กิโลเมตรอำเภอศรีนคร ๕๔ กิโลเมตรอำเภอศรีสัชนาลัย ๖๗ กิโลเมตรอำเภอทุ่งเสลี่ยม ๖๘ กิโลเมตรระยะทางจากจังหวัดสุโขทัยไปจังหวัดใกล้เคียงจังหวัดพิษณุโลก ๕๙ กิโลเมตรจังหวัดกำแพงเพชร ๗๗ กิโลเมตรจังหวัดตาก ๗๙ กิโลเมตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ๑๐๐ กิโลเมตรจังหวัดแพร่ ๑๖๕ กิโลเมตรจังหวัดลำปาง ๒๐๗ กิโลเมตรสถานที่น่าสนใจอำเภอเมืองศาลพระแม่ย่า ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ถนนนิกรเกษม ริมแม่น้ำยม เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสุโขทัย ศาลนี้เป็นที่ประดิษฐานดวงพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและเทวรูปพระแม่ย่า ทำด้วยศิลาสลักแบบเทวรูป พระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม พระเกตุมาลายาวประดับเครื่องทรงแบบนางพญา มีความสูง ๑ เมตร ศาลพระแม่ย่าสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพื่ออุทิศให้กับพระมารดา คือนางเสือง เหตุที่เรียกว่า “พระแม่ย่า” นี้เพราะว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเรียกมารดาว่า “พระแม่” และชาวเมืองสุโขทัยเคารพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสมอด้วยบิดา จึงเรียกพระมารดาของพระองค์ว่า “พระแม่ย่า” แต่เดิมศาลพระแม่ย่าประดิษฐานอยู่บนเขาพระแม่ย่า มีเพิงหินเป็นผาป้องกันแดดและฝน ต่อมาชาวจังหวัดสุโขทัยได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองใหม่ โดยสร้างศาลขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดดังเช่นปัจจุบัน และประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีมีการจัดงานเฉลิมฉลองที่ศาลพระแม่ย่า เรียกว่า“งานพระแม่ย่า” การเดินทาง ในเขตเทศบาลมีรถโดยสารประจำทางผ่านไปศาลพระแม่ย่าทุกวันพิพิธภัณฑ์สังคโลกสุโขทัย ตั้งอยู่บริเวณเมืองเอกพลาซ่า ถนนบายพาส ห่างจากเมืองเก่าประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องสังคโลกที่มีคุณค่ากว่า ๒,๐๐๐ ชิ้น ที่ได้รวบรวมมาจากในประเทศและต่างประเทศ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ ๕๐ บาทเด็ก ๒๐ บาท นักเรียนในเครื่องแบบ ๒๐ บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก ๕๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๔๓๓๓การเดินทาง สามารถนั่งรถโดยสารประจำทาง หรือ รถสามล้อจากตลาดในตัวเมืองไปพิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์ปลาในวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ภายในสวนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๒ สายสุโขทัย-พิษณุโลก พิพิธภัณฑ์อยู่ทางขวามือ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดในวรรณคดีมากมาย อาทิ ปลาจากกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นต้น พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันอังคาร ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมการเดินทาง สามารถขึ้นรถโดยสารประจำทางสายพิษณุโลก-สุโขทัย จากสถานีขนส่งมาลงที่สวนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ร.๙พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ตั้งอยู่ทางด้านขวาของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นที่รวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเมืองสุโขทัยและที่ประชาชนมอบให้ บริเวณพิพิธภัณฑ์แบ่งส่วนการแสดงไว้เป็น ๓ ส่วนคือ๑. อาคารลายสือไท ๗๐๐ ปี เป็นอาคารใหม่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยสุโขทัย อาทิ พระพุทธรูป เครื่องใช้ ถ้วยชาม เครื่องสังคโลก และศิลาจารึก๒. อาคารพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะแหล่งโบราณคดีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และ ชั้นบน จัดแสดงศิลาจารึกสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสำริด เทวรูป โอ่งสังคโลก เครื่องศาสตราวุธ เครื่องถ้วยชามสังคโลก เงินตรา ท่อน้ำแสดง และแสดงระบบชลประทานสมัยสุโขทัย๓. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง อยู่ด้านนอกโดยรอบอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุต่าง ๆ อาทิ พระพุทธรูปศิลา แผ่นจำหลัก รูปทรงอาคารไทยแบบต่าง ๆ เตาทุเรียงจำลอง และเสมาธรรมจักรศิลา เป็นต้นพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๙.๓๐-๑๖.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย ๑๐ บาทชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา ๓๐ วัน ในกรณีที่ประสงค์จะเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย ๖๔๒๑๐โทร/โทรสาร ๐ ๕๕๖๙ ๗๓๖๗ HYPERLINK "http://www.thailandmuseum.com" www.thailandmuseum.comอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ถนนจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลข ๑๒ สายสุโขทัย-ตากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของไทยสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่โดยได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๔ ให้เป็น “มรดกโลก” เนื่องจากในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประกอบไปด้วยสถานที่สำคัญ ๆ ได้แก่โบราณสถานภายในกำแพงเมืองพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด ๒ เท่าขององค์จริง สูง ๓ เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง ๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้นที่ถ่ายทอดความรู้สึกว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม มีความเด็ดขาดในการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัยกำแพงเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก เรียกว่า ตรีบูร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง ๑,๓๐๐ เมตร ยาว ๑,๘๐๐ เมตร กำแพงชั้นในเป็นศิลาแลงก่อบนคันดิน กำแพง ๒ ชั้นนอกเป็นคูน้ำสลับกับคันดิน นอกจากทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกแล้ว คูน้ำยังใช้ระบายน้ำไม่ให้ไหลท่วมเมืองอีกด้วย ระหว่างกึ่งกลางแต่ละด้านมีประตูเมือง และป้อมหน้าประตูด้วยวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นวัดใหญ่ และวัดสำคัญของกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ เป็นเจดีย์ประธาน รายรอบด้วยเจดีย์ ๘ องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง ๔ และเจดีย์ทรงปราสาทก่อด้วยอิฐที่ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา จากการสำรวจ พบว่าบริเวณวัดมหาธาตุมีเจดีย์แบบต่าง ๆ มากถึง ๒๐๐ องค์ วิหาร ๑๐ แห่ง ซุ้มพระ (มณฑป) ๘ ซุ้ม พระอุโบสถ ๑ แห่ง ตระพัง ๔ แห่งด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพมหานคร ที่ด้านเหนือ และด้านใต้ของเจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้ม เรียกว่า “พระอัฎฐารศ”วัดชนะสงคราม ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดมหาธาตุ ใกล้กับหลักเมือง เดิมเรียกว่า วัดราชบูรณะ มีลักษณะเด่นคือ เจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ เป็นเจดีย์ประธาน มีวิหาร โบสถ์ และเจดีย์รายเนินปราสาทพระร่วง หรือ เขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับวัดมหาธาตุ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสันนิษฐานว่าบริเวณนี้ เคยเป็นฐานปราสาทราชวังของกษัตริย์เมืองสุโขทัยกรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ พบฐานอาคารแบบฐานบัวค่ำและบัวหงาย มีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๒๗.๕๐ x ๕๑.๕๐ เมตร มีบันไดที่ด้านหน้าและด้านหลังวัดตระพังเงิน (คำว่า “ตระพัง” หมายถึง สระน้ำหรือหนองน้ำ) เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ห่างจากวัดมหาธาตุ ๓๐๐ เมตร โบราณสถานนี้ไม่มีกำแพงแก้ว ประกอบด้วยเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูมเป็นประธาน ที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปยืน และพระพุทธรูปปางลีลา มีวิหารประกอบอยู่ด้านหน้า และทางด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นเกาะมีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำวัดสระศรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานสำคัญตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำขนาดใหญ่ ชื่อว่า ตระพังตระกวน และสิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงลังกา ด้านหน้าวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย มีเจดีย์ขนาดเล็ก ศิลปศรีวิชัยผสมลังกา ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ มีซุ้มพระพุทธรูป ๔ ทิศ ด้านหน้ามีเกาะกลางน้ำขนาดย่อมเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถขนาดเล็ก วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นจุดที่มีทัศนียภาพที่สวยงามวัดศรีสวาย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวัดมหาธาตุ ห่างออกไปประมาณ ๓๕๐ เมตร โบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ ๓ องค์ ศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน เดิมพบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้าศาลตาผาแดง มีลักษณะเป็นโบราณสถานตามแบบศิลปเขมรก่อด้วยศิลาแลง สมัยนครวัด (พ. ศ. ๑๖๕๐-๑๗๐๐) ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะศาลนี้ได้พบชิ้นส่วนเทวรูปและเทวสตรีประดับด้วยเครื่องตกแต่ง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหงโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านเหนือศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อยู่หน้าวัดพระพายหลวง ภายในอาคารเป็นศูนย์ให้ข้อมูล และอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรเริ่มต้นชมอุทยานฯ จากจุดนี้เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของสุโขทัยในอดีตแหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง) อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง บริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า “แม่โจน” เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบเตาโดยรอบ ๔๙ เตา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ ๓๗ เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง ๙ เตา และด้านทิศตะวันออก ๓ เตา เตาเผาเครื่องสังคโลกมีลักษณะคล้ายประทุนเกวียนขนาดกว้าง ๑.๕๐-๒.๐๐ เมตร ยาว ๔.๕ เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นถ้วยชาม มีขนาดใหญ่หนา น้ำยาเคลือบขุ่น สีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักรวัดพระพายหลวง เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานที่ เก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์ ๓ องค์ เป็นปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ๔ อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน และเดินวัดศรีชุม ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก ๘๐๐ เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระอัจนะ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๑๑.๓๐ เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอัจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ ๗๐๐ ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่องชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด ๕๐ ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบเหตุที่วิหารวัดศรีชุมมีความเร้นลับซ่อนอย่างนี้ หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านการปลุกปลอบใจทหารหาญ เนื่องจากผนังด้านข้างขององค์พระอัจนะมีช่องเล็ก ๆ ถ้าใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้ และพูดออกมาดัง ๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอัจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดมโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านตะวันตกวัดช้างรอบ อยู่ห่างจากประตูอ้อไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๒.๔ กิโลเมตร มีโบราณสถานที่สำคัญประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างโผล่ครึ่งตัว จำนวน ๒๔ เชือก พระอุโบสถอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ราย ๕ องค์ ล้อมรอบเจดีย์ประธาน และโบสถ์วัดสะพานหิน วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา สูงประมาณ ๒๐๐ เมตร บริเวณทางเดินขึ้นโบราณสถานมีทางเดินปูลาดด้วยหินชนวนจากตีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทาง ๓๐๐ เมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัย สูง ๑๒.๕๐ เมตร เรียกว่า “พระอัฏฐารศ”เขื่อนสรีดภงค์ หรือ ทำนบพระร่วง ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า เป็นคันดินกั้นระหว่างเขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองสู่กำแพงเมืองไหลเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันกรมชลประทานได้บูรณะ และซ่อมแซมขึ้นใหม่ สำหรับแหล่งต้นน้ำในอดีตเรียกว่า โซก (หมายถึง ลำธาร) ที่สำคัญได้แก่ โซกพระร่วงลองพระขรรค์ โซกพระร่วงลับพระขรรค์ โซกพม่าฝนหอก และโซกชมพู่ (รัชกาลที่ ๖ เคยเสด็จประพาสในเที่ยวเมืองพระร่วง) ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ไหลมาจากเขาประทักษ์โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านใต้วัดเชตุพน ศิลปกรรมที่น่าสนใจของวัดคือ มณฑปที่สร้างด้วยหินชนวน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท คือ นั่ง นอน ยืน เดิน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโดยมีการใช้วัสดุทั้งอิฐ หินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้าง สิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ กำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปจตุรมุขสร้างจากหินชนวนขนาดใหญ่และหนา โดยมีการสกัดและบากหินเพื่อทำเป็นกรอบ และซี่กรงเลียนแบบเครื่องไม้ และยังได้พบศิลาจารึกหลักที่ ๕๘ จารึกในปี พ. ศ. ๒๐๕๗กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุทธรูปในวัดนี้วัดเจดีย์สี่ห้อง ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน ห่างไปประมาณ ๑๐๐ เมตร สิ่งที่น่าสนใจ คือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับโดยรอบปั้นเป็นรูปบุรุษ และสตรี สวมอาภรณ์ และเครื่องประดับ ในมือถือภาชนะ มีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออกมาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นมีปูนปั้นรูปช้าง และสิงห์ประดับรูปบุคคล องค์เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังกลมที่ได้รับการบูรณะ ส่วนยอดเจดีย์ได้หักพังลงโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านตะวันออกวัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ประดับด้วย ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบวัดตระพังทองหลาง อยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง หากเดินทางมาจากจังหวัดสุโขทัยวัดตระพังทองหลางอยู่ซ้ายมือ ศิลปกรรมที่สำคัญคือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัยบริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า ๗๐ ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่ น่าชมอีกมากมาย กรณีที่นักท่องเที่ยวมีเวลามาก โบราณสถานที่ควรชมนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นขอแนะนำดังนี้ทิศตะวันออก วัดเจดีย์สูง และวัดเกาะไม้แดงทิศตะวันตก วัดพระบาทน้อย วัดเจดีย์งาม วัดมังกร วัดอรัญญิก และวัดช้างรอบทิศใต้ วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม วัดต้นจัน และวัดอโศการามอัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างชาติ ๔๐ บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย๓๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ภายในระยะเวลา ๓๐ วัน เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๒๑.๐๐ น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา ๑๘.๐๐ น.)หมายเหตุ มีการส่องไฟโบราณสถาน ประมาณเวลา ๑๙.๐๐-๒๑.๐๐ น.ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าเขตโบราณสถานต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย และที่บริเวณลานจอดรถของอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีบริการ รถราง นำชมรอบ ๆ บริเวณอุทยานฯ อัตราค่าบริการ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ๑๐ บาทชาวต่างประเทศ ๒๐ บาท นอกจากนั้นที่บริเวณด้านหน้าอุทยานฯ มีบริการ รถจักรยาน ให้เช่าคันละ ๒๐ บาทกรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรนำชม กรุณาติดต่อศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ๖๔๒๑๐ โทร. ๐ ๕๕๖๙ ๗๕๒๗, ๐ ๕๕๖๙ ๗๒๔๑การเดินทาง จากตัวเมืองสุโขทัยนักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถสองแถวสายเมืองเก่า จากท่ารถใกล้ป้อมตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ รถออกทุก ๒๐ นาทีอำเภอคีรีมาศอุทยานแห่งชาติรามคำแหง (เขาหลวง) ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอคีรีมาศ มีพื้นที่ประมาณ ๒๑๓,๒๑๕ ไร่ ได้รับการประกาศแต่งตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติรามคำแหง เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๓ เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์แห่งแรกของเมืองไทยที่น่าสนใจและน่าศึกษา เพราะเป็นการอนุรักษ์ป่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัยไว้พร้อมกับพื้นที่ทางธรรมชาติ ในสมัยก่อนเรียกป่านี้ว่า “ป่าเขาหลวง” แต่เมื่อทางการเข้ามาดำเนินการสงวนพื้นที่แห่งนี้ไว้เพื่อประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาตินั้นได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “รามคำแหง” ซึ่งเป็นมงคลนาม เพราะมาจากพระนามของกษัตริย์อัจฉริยะของชาติไทย คือ “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ผู้ครองกรุงสุโขทัยเพราะชื่อเดิมนั้น (เขาหลวง) ซ้ำกับ “ป่าเขาหลวง” ซึ่งเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติเขาหลวงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีขุนเขาที่สูงเด่นเป็นสง่า คือ ยอดเขาหลวง ภายในอุทยานฯ มีสัตว์ป่า เช่น วัวแดง เก้ง หมี หมูป่า นกกระเต็น และนกนางแอ่น พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก ตะเคียน เต็ง รัง พืชสมุนไพร และว่าน น้ำตกที่สวยงาม และถ้ำต่าง ๆที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นราบคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่โดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางทุ่งนา สภาพอากาศบนยอดเขาหนาวเย็นตลอดปี มีเมฆหมอกปกคลุมมากในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณ ๑๒-๑๔ องศาเซลเซียส ช่วงที่อากาศเย็นสบายอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางไปอุทยานฯ ประมาณเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ได้แก่เขาหลวง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง ๑,๒๐๐ เมตร เป็นภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน และมียอดเขาสูงที่สุดอยู่ทางด้าน ทิศใต้ของเมืองสุโขทัย บนยอดเขามีทิวทัศน์ที่สวยงาม และปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าธรรมชาติ ประกอบด้วยยอดเขา ๔ ยอดด้วยกัน คือ ยอดเขานารายณ์ สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๑๖๐ เมตร เป็นที่ตั้งของสถานีโทรคมนาคมเขานารายณ์ของกองทัพอากาศมีเนื้อที่ ๒๕ ไร่ บริเวณเขานารายณ์มีหน้าผาที่สวยงาม และสูงชันเหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนสามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบเขา ในเวลากลางคืนจะเห็นแสงไฟจากจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ยอดเขาพระแม่ย่า สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐ เมตร เดิมเคยเป็นที่ประทับ และจำศีลภาวนาของพระแม่ย่า ยอดเขาภูกา สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐ เมตร และ ยอดเขาพระเจดีย์ สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๑๘๕ เมตร เมื่อมองจากยอดเขาเหล่านี้ลงไปสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม และเห็น “สรีดภงค์” และตัวจังหวัดสุโขทัยได้อย่างชัดเจนทุ่งหญ้าธรรมชาติ บนยอดเขาจะเป็นทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ มีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกัน และบางชนิดเป็นพืชสมุนไพรไทรงาม เป็นต้นไทรขนาดใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาลักษณะสวยงาม เหมาะที่จะไปนั่งพักผ่อน อยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาหลวงปล่องนางนาค อยู่ห่างจากไทรงาม ๓๒๐ เมตร เป็นปล่องธรรมชาติอยู่บริเวณยอดเขามีความกว้างประมาณ๐.๕ เมตร ยาวประมาณ ๑.๕ เมตร ความลึกไม่สามารถวัดได้ ตามตำนานพระร่วงในพงศาวดารเหนือ เจ้าเมืองออกมาจำศีลที่เขาหลวงจึงเกิดตำนานเรื่องพระร่วงซึ่งเกี่ยวข้องกับปล่องนางนาคนี้สมุนไพร และว่าน ในพื้นที่อุทยานฯ มีว่าน และสมุนไพรหลายชนิด เช่น โด่งไม่รู้ล้ม หอมไกลดง นางคุ้มหนุมานประสานกาย และกำลังเสือโคร่ง เป็นต้นสวนลุ่ม หรือ สวนลุมพินีวัน เป็นสวนว่านยาสมุนไพรอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่เชิงเขาหลวง ปัจจุบันคือ ที่ตั้งของสำนักงานอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาหลวงประตูประวัติศาสตร์ มีประตูทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ คือ “ประตูป่า” อยู่ทางทิศเหนือของสวนลุ่มหรือบริเวณที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ “ประตูมะค่า” อยู่ทางทิศตะวันตก เป็นประตูตั้งอยู่บริเวณเมืองหน้าด่าน“ประตูเปลือย” อยู่ทางทิศตะวันออกของสวนลุ่ม ตั้งอยู่บริเวณด่านตรวจของอุทยานฯ “ประตูพระร่วง” อยู่ทางทิศใต้ของสวนลุ่ม และมีเรื่องเล่ามาว่าเป็นประตูที่พระร่วงเข้ามาเล่นว่าว ณ ที่แห่งนี้น้ำตกสายรุ้ง อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียง และสวยงาม เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์ มาเป็นลำธารคลองไผ่นา ไหลลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิ้งตัวลงมาจากผาหินที่สูง เมื่อถูกแสงแดดส่องกระทบกับสายน้ำทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นสายรุ้งมีสีสันสวยงาม ช่วงระยะเวลาที่สามารถมองเห็นสายรุ้งตั้งแต่เวลา๑๑.๐๐-๑๖.๐๐ น. ภายในบริเวณน้ำตกมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ อยู่ห่างจากอุทยานฯ ๕๐ เมตร ตัวน้ำตกมีทั้งหมด ๔ ชั้นแต่ละชั้นสามารถลงเล่นน้ำได้ โดยต้องเดินเท้าจากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ขึ้นไปตามธารน้ำไหล ระยะทาง ๘๐๐ เมตร๙๐๐ เมตร ๑,๑๖๐ เมตร และ ๑,๒๐๐ เมตร ตามลำดับ การเดินทาง จากจังหวัดสุโขทัยใช้หลวงหมายเลข ๑๐๑สุโขทัย-คีรีมาศ พอถึงอำเภอคีรีมาศให้ตรงไปอีกประมาณ ๑๘ กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือโดยผ่านอำเภอบ้านด่านลานหอยเข้าไป ๑๓ กิโลเมตร แล้วมีทางแยกขวาอีกครั้งให้ตรงเข้าไปประมาณ ๔ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯรอยพระพุทธบาท ตั้งอยู่เชิงเขาถ้ำพระบาททำด้วยหินชนวนแกะสลักรอยมงคล ๑๐๘ สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท อายุประมาณ ๖๐๐ ปีเศษปรางค์เขาปู่จา ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเล็ก ๆ ใกล้กับอุทยานฯ เป็นศิลปะเขมรสมัยบาปวนสร้างสำหรับคนเดินทางเพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา มีอายุประมาณ ๑,๕๐๐ ปีเศษถ้ำพระนารายณ์ เป็นสถานที่ที่เคยพบเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ซึ่งราษฎรที่พบคิดว่าเป็น พระนารายณ์ ปัจจุบันถูกทุบทำลายจนหมดคงเหลือแต่เฉพาะฐานเท่านั้นถ้ำพระแม่ย่า เป็นเพิงหินขนาดใหญ่เคยเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปปั้นพระแม่ย่า ปัจจุบันได้อัญเชิญไว้ที่ศาลพระแม่ย่าบริเวณศาลากลางจังหวัดสุโขทัยถนนพระร่วง เป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่เชื่อมระหว่างเมืองกำแพงเพชรผ่านสุโขทัยจรดศรีสัชนาลัยระยะทาง ๑๒๓ กิโลเมตร เชื่อว่าถนนสายนี้สร้างเมื่อ ๗๐๐ ปีมาแล้ว เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์อาจถือว่าเป็นทางหลวงแผ่นดินสายแรกของประเทศไทยนอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัดทำ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ โดยเริ่มจากที่ทำการอุทยานฯ ผ่านสวนสมุนไพรป่าดิบแล้ง ไทรงาม ชั้นดิน และชั้นหิน เป็นต้น ไปสิ้นสุดที่น้ำตกหินราง ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง๒ ชั่วโมง โดยทางอุทยานฯ ได้จัดทำป้ายสื่อความหมายต่าง ๆ ไว้เป็นระยะอัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ๒๐๐ บาทเด็ก ๑๐๐ บาท นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการลูกหาบขึ้นยอดเขาหลวงราคากิโลกรัมละประมาณ ๑๐ บาท โดยสามารถติดต่อได้ที่อุทยานฯสถานที่พัก อุทยานฯ มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน ๓ หลัง พักได้ ๖-๑๐ คน ราคา ๕๐๐ บาท/คืน และมีเต็นท์ให้เช่า พักได้ ๒-๘ คน ราคา ๕๐–๒๐๐ บาท/คืน ถ้านำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่ ๓๐ บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ตู้ ปณ. ๑ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ๖๔๑๖๐ โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๙๒๐๐-๑ หรือ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สมบัติของอากาศ1. ความหนาแน่นของอากาศความหนาแน่นของอากาศ คือ อัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของอากาศ• ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างก้น อากาศจะมีความหนาแน่นต่างกัน• เมื่อระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของอากาศจะลดลง• ความหนาแน่นของอากาศจะเปลี่ยนแปลงตามมวลของอากาศ อากาศที่มวลน้อยจะมีความหนาแน่นน้อย• อากาศที่ผิวโลกมีความหนาแน่นมากว่าอากาศที่อยู่ระดับความสูงจากผิวโลกขึ้นไป เนื่องจากมีชั้นอากาศกดทับผิวโลกหนากว่าชั้นอื่นๆ และแรงดึงดูดของโลกที่มีต่อมวลสารใกล้ผิวโลก2. ความดันของอากาศความดันของอากาศหรือความดันบรรยากาศ คือ ค่าแรงดันอากาศที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดันนั้นเครื่องมือวัดความดันอากาศ เรียกว่า บารอมิเตอร์เครื่องมือวัดความสูง เรียกว่า แอลติมิเตอร์ความสัมพันธ์ระหว่างความดันอากาศกับระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล สรุปได้ดังนี้1. ที่ระดับน้ำทะเล ความดันอากาศปกติมีค่าเท่ากับความดันอากาศที่สามารถดันปรอทให้สูง 76 cm หรือ 760 mm หรือ 30 นิ้ว2. เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดของอากาศจะลดลงทุกๆ ระยะความสูง 11 เมตรระดับปรอทจะลดลง1 มิลลิเมตร3. อุณหภูมิของอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความสูงในบรรยากาศชั้นนี้พบว่า โดยเฉลี่ยอุณหภูมิจะลดลงประมาณ 6.5 ๐C4. ความชื้นของอากาศความชื้นของอากาศ คือ ปริมาณไอน้ำที่ปะปนอยู่ในอากาศอากาศที่มีไอน้ำอยู่ในปริมาณเต็มที่ และจะรับไอน้ำอีกไม่ได้อีกแล้ว เรียกว่า อากาศอิ่มตัวการบอกค่าความชื้นของอากาศ สามารถบอกได้ 2 วิธี คือ1. ความชื้นสัมบูรณ์ คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในอากาศกับปริมาตรของอากาศขณะนั้น2. ความชื้นสัมพัทธ์ คือ ปริมาณเปรียบเทียบระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลของ ไอน้ำอิ่มตัว ที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์ เรียกว่า ไฮกรอมิเตอร์ ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ1. ไฮกรอมิเตอร์แบบกระกระเปียกกระเปาะแห้ง2. ไฮกรอมิเตอร์แบบเส้นผมที่มา http://varee.ac.th/v2/kruju/2009/12/12/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/
ฝนฝนฝนเป็นน้ำที่เกิดจากกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศที่รวมกันเป็นเมฆกลายเป็นหยดน้ำ เมื่อหยดน้ำมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากจนอากาศไม่สามารถอุ้มไว้ได้ จึงตกลงมายังพื้นโลกเป็นฝนการวัดปริมาณน้ำฝนปริมาณน้ำฝน หมายถึง ระดับความลึกของน้ำฝนในภาชนะที่รองรับน้ำฝน ทั้งนี้ภาชนะที่รองรับน้ำฝนจะต้องตั้งอยู่ในแนวระดับ และวัดในช่วงเวลาที่กำหนด หน่วยที่ใช้วัดปริมาณน้ำฝนนิยมใช้ในหน่วยของมิลลิเมตรการวัดปริมาณน้ำฝนจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน (rain gauge)" ซึ่งจะตั้งไว้กลางแจ้งเพื่อรับน้ำฝนที่ตกลงมา มีหลายแบบดังนี้1. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบธรรมดา เป็นภาชนะทรงกลมที่ภายในมีกรวยเพื่อรองรับน้ำฝนที่ตกลงมา น้ำฝนที่รวบรวมได้จะไหลลงไปรวมกันในภาชนะรองรับ จากนั้นจึงนำน้ำที่เก็บไว้ในเครื่องมาตวง ก็จะทราบปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้ แต่เครื่องวัดน้ำฝนแบบนี้อาจได้ค่าแสดงปริมาณน้ำฝนคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เนื่องจากน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนอาจระเหยไป และถ้ามีฝนตกลงมาน้อยกว่า 2.5 มิลลิเมตร จะวัดได้ยากมาก2. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบป้องกันการระเหยของน้ำฝน โดยใช้ภาชนะทรงกลมตั้งบนหลอดขนาดเล็กสำหรับเก็บน้ำฝน เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบนี้สามารถใช้วัดปริมาณน้ำฝนได้ดี แม้จะมีฝนตกลงมาเพียงเล็กน้อยก็ตาม3. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบไซฟ่อน (siphon rain gauge) เป็นเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบมาตรฐานที่ทำงานมีประสิทธิภาพดี ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้นำมาใช้และเป็นเครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบอัตโนมัติที่สามารถวัดปริมาณน้ำฝนได้ตลอดเวลาฝน (rain) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการที่ละอองไอน้ำในอากาศหรือเมฆจับตัวหรือเกาะกัน จนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอากาศไม่สามารถรองรับไว้ได้อีกจึงตกลงมาเป็นหยด น้ำขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างลงมาตามแรงดึงดูดของโลกละอองน้ำฝนหรือฝนที่ตกลงมาเป็นละอองจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหยดน้ำประมาณ 0.5 มิลลิเมตรเม็ดฝนที่ตกลงมาขณะฝนตกหนักจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหยดน้ำประมาณ 2 มิลลิเมตร หรืออาจมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้ การเกิดฝนมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้1. ปริมาณไอน้ำในอากาศ ที่มีจำนวนมากจะรวมตัวกันทำให้เกิดเป็นเมฆ จากนั้นก็จะพัฒนาไปเป็นหยดของไอน้ำที่มี น้ำหนักมากขึ้น และตกลงสู่พื้นผิวโลก ยิ่งมีไอน้ำมากปริมาณของ น้ำฝนก็จะยิ่งมาก การตกแต่ละครั้งก็ตกนาน และตกได้บ่อยครั้ง2. อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ มีส่วนในการรวมตัวกันของไอน้ำ และการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก อุณหภูมิที่สูงจะทำให้น้ำอยู่ในสภาพไอน้ำมากขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงจะทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นเมฆ และถ้าอุณหภูมิลดต่ำลงอีกไอน้ำจะรวมตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก3. ลมซึ่งเป็นทั้งลมปกติและลมพายุ ลมเป็นปัจจัยในการพัดพาละอองไอน้ำให้ไปรวมกันตามบริเวณต่างๆ เมื่ออุณหภูมิลดลงจะตกลงมาเป็นฝน# ลมที่เกิดตามปกติของประเทศไทยที่ทำให้เกิดฤดูฝน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้จะพัดพาไอน้ำจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่พื้นที่ของประเทศทำให้เกิดฝนตก เป็นช่วงฤดูกาล#ลมที่เกิดเป็นกรณีพิเศษ คือ ลมพายุ (ลมพายุไต้ฝุ่น ลมพายุทอร์นาโด ลมพายุเฮอริเคน) ลมพายุจะเกิดขึ้นในมหาสมุทร มีกำลังแรงมาก จะพัดพาเอาไอน้ำจำนวนมหาศาลเข้าสู่พื้นดิน ไอน้ำจะรวมตัวกันตกลงมาเป็นฝนจำนวนมากเป็นระยะเวลายาวนาน4. ภูเขาและป่าไม้ ภูเขาเป็นส่วนที่สูงขึ้นมาจากผิวโลกจึงเป็นเหมือนกำแพงที่กั้นปะทะให้ไอน้ำมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ป่าไม้จะคายไอน้ำ ทำให้อุณหภูมิต่ำลงและทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก ภูเขาและป่าไม้จึงเป็นบริเวณที่ฝนจะตกมากเป็นพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ไม่มีภูเขาและป่าไม้ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/21.htm
ลมและพายุลมและพายุสภาพ พื้นผิวโลกแต่ละแห่งแตกต่างกัน ทำให้ความสามารถในการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน บริเวณป่าทึบจะดูดรังสีได้ดีที่สุด รองลงมาคือพื้นดินและพื้นน้ำ ตามลำดับ เป็นผลให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าวมีอุณหภูมิและความกดอากาศต่างกัน และส่งผลทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศการเกิดลมและพายุอากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และหากบริเวณนั้นมีความกดอากาศต่ำอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น บริเวณที่อากาศเย็นกว่ามีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อน ทำให้เกิด ลม ถ้าบริเวณทั้งสองแห่งมีความกดอากาศต่างกันมาก ลมจะพัดแรงจนบางครั้งเรียกว่า พายุ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งต่างๆ ในบริเวณที่พายุพัดผ่านชนิดของลมและพายุ1. ลมประจำภูมิภาคต่างๆ ของโลก ลมประจำภูมิภาคต่างๆ เช่น ลมที่พัดในซีกโลกใต้ พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปยังตะวันตกเฉียงเหนือ เรียกว่า "ลมค้า"2. ลมประจำฤดู เป็น ลมที่พัดเป็นประจำตามฤดูกาล ลมมรสุมเป็นส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล มีทิศแน่นอนและสม่ำเสมอ สาเหตุใหญ่เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินและพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุทำให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงกันข้าม ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ2.1 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ---เป็น ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ในแถบมหาสมุทรอินเดีย ลมมรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมาก ฝนตกชุกทั่วไป2.2 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ---เป็น ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและ จีน จึงพัดเอามวลอากาศเย็นและแห้งเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุก โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม3. ลมประจำถิ่น เป็นลมที่เกิดเฉพาะแห่ง ในฤดูร้อนกลางเดือนกุมภาพันธ์จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งของประเทศไทยมีอากาศร้อนจัด เมื่อมีอากาศเย็นจากประเทศจีนพัดลงมาปะทะทำให้เกิดเป็นพายุ เรียกว่า พายุฤดูร้อน มีกำลังลมแรงจัดกว่าพายุดีเปรสชัน ทำความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนและต้นไม้หักโค่นได้4. ลมประจำเวลา เป็นลมที่เกิดในช่วงเวลาที่ต่างกัน เช่น ในเวลากลางคืนอากาศเหนือพื้นดินเย็นว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ เนื่องจากพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่า อากาศจึงเคลื่อนที่จากฝั่งออกสู่ทะเล เรียกว่า ลมบก ส่วนในเวลากลางวันอากาศเหนือพื้นดินร้อนกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ เนื่องจากพื้นดินดูดความร้อนมากกว่าพื้นน้ำ อากาศจึงเคลื่อนที่จากพื้นน้ำเข้าสู่ฝั่งเรียกว่า ลมทะเล5. พายุหมุนเขตร้อน เกิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 26.5 องศาเซลล์เซียส ความกดอากาศโดยทั่วไปต่ำกว่า 1,000 มิลลิบาร์ เกิดพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก โดยพัดเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ ส่วนทางซีกโลกใต้พัดเวียนเป็นวงตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ ตามข้อตกลงระหว่างประเทศได้กำหนดการเรียกชื่อพายุหมุนตามความรุนแรงดังนี้พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เช่น - พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า "ไซโคลน (Cyclone)"- พายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน (Hurricane)"- พายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่า "ไต้ฝุ่น (Typhoon)"- พายุที่เกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่า "วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)"6. พายุฟ้าคะนอง เป็นลมพายุที่พัดแรงฝนตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าเกิดขึ้นและบางครั้งอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นด้วย เราจะพบปรากฏการพายุฟ้าคะนองได้ทั่วไปในเขตภูมิอากาศร้อนชื้นที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/22.htm
บรรยากาศการพยากรณ์อากาศการพยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดหมายสภาวะของลมฟ้าอากาศรวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยใช้สภาวะอากาศปัจจุบันเป็นข้อมูลเริ่มต้นหน่วยงานของประเทศไทยที่ทำหน้าที่ในการตรวจสภาพอากาศและปรากฏการณ์ธรรมชาติเพื่อการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติ คือ กรมอุตุนิยมวิทยาขั้นตอนการพยากรณ์อากาศ
1. ตรวจสภาพอากาศ โดยสถานีตรวจอากาศบนบกหรือทะเล จะตรวจวัดอุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ความกดอากาศ ลม เมฆ หยาดน้ำฟ้า ทัศนวิสัย บอลลูนตรวจสภาพอากาศจะนำเครื่องมือที่จะทำการวัดอุณหภูมิ ความกดอากาศ และความชื้นไปสู่ชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโตสเฟียร์ ดาวเทียมตรวจสภาพอากาศจะอยู่ในชั้นเอกโซสเฟียร์ และสามารถถ่ายภาพพื้นผิวโลก เมฆ และพายุ ส่งข้อมูลมายังสถานีรวบรวมข้อมูลได้
2. สื่อสารข้อมูลที่ได้จากการตรวจสภาพอากาศจากสถานีต่างๆ ไปยังศูนย์พยากรณ์อากาศ
3. เขียนแผนที่อากาศ วิเคราะห์ข้อมูล และพยากรณ์อากาศ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ แล้วส่งข้อมูลการพยากรณ์อากาศไปยังหน่วยงานสื่อสารมวลชน
การอ่านแผนที่อากาศแผนที่อากาศ คือ แผนที่ที่แสดงองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ข้อมูลต่างๆ ในแผนที่อากาศได้รับมาจากสถานีตรวจอากาศ แล้วนำข้อมูลมาเขียนเป็นตัวเลข รหัส และสัญลักษณ์ต่างๆ ทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่อากาศจะนำไปใช้ในการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศ ที่จะเกิดขึ้นตัวอย่างสัญลักษณ์ทางอุตุนิยมวิทยาบนแผนที่อากาศ
1. เส้นโค้งที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซบาร์ (Isobar) ตัวเลขบนเส้นไอโซบาร์แสดงค่าความกดอากาศที่อ่านได้ซึ่งอาจอยู่ในหน่วยมิลลิบาร์ หรือนิ้วของปรอท
2. เส้นโค้งที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่มีอุณหภูมิของอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซเทอร์ม (Isotherm) ค่าอุณหภูมิอาจบอกในหน่วยองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์ หรือทั้งสองหน่วย
3. อักษร H คือ ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง4. อักษร L คือ ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ