วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ฟิสิกส์..
ฟิสิกส์ (อังกฤษ: Physics, กรีก: φυσικός [phusikos], "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις [phusis], "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร [1] และ พลังงาน [2] [3] ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้นนักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาลจึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว[ต้องการอ้างอิง]ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้นในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อยๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อย ฟิสิกส์พลาสมา สำหรับงานวิจัย ฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และ นักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรือ อธิบายการทดลองใหม่ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ๆทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้นฟิสิกส์ (อังกฤษ: Physics, กรีก: φυσικός [phusikos], "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις [phusis], "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร [1] และ พลังงาน [2] [3] ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้นนักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาลจึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว[ต้องการอ้างอิง]ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น
สารละลาย สารคอลลอยด์ และสารแขวนลอย
สารละลาย คอลลอยด์ สารแขวนลอยเมื่อผสมสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจจะได้เป็นสารเนื้อเดียว หรือสารเนื้อผสมก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่จะนำมาผสมกันว่าจะรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันได้หรือไม่ สำหรับสารที่รวมกันเป็นเนื้อเดียว ภายในสารผสมนั้น อนุภาคของสารหนึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างอนุภาคของอีกสารหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ จนการสังเกตด้วยตาเปล่าอย่างเดียวจะบอกความแตกต่างของสารผสมเนื้อเดียวเหล่านั้นไม่ได้ สารเหล่านั้นอาจจะเป็นสารละลาย คอลลอยด์ หรือสารแขวนลอย ซึ่งมีสมบัติบางอย่างคล้ายกัน แต่มีขนาดของอนุภาคที่แตกต่างกัน1. สมบัติบางประการของสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยสารละลาย หรือ สารละลายแท้ (Ture solution) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่อนุภาคของตัวถูกละลายจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10-7 เซนติเมตร (หรือ 0.001 ไมโครเมตรหรือ 10 อังสตรอม) เช่นสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต, สารละลายกรดไนตริก , สารละลายกรดซัลฟูริก , สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง ) เป็นต้นคอลลอยด์ (Colloid) มาจากภาษากรีก Kolla + Eidos ซึ่งหมายถึงสารที่มีลักษณะคล้ายกาว เช่น นมสด วุ้น เยลลี่ เป็นต้นคอลลอยด์ (Colloid) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่มีอนุภาคของตัวถูกละลาย หรืออนุภาคของสารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตรสารแขวนลอย (Suspension) หมายถึง สารผสม ที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10-4 เซนติเมตร (หรือ 1 ไมโครเมตร) กระจายอยู่ ถ้าอนุภาคที่อยู่ในสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่มากจะมองเห็นส่วนผสมได้ชัดเจน ซึ่งเมื่อวางทิ้งไว้อนุภาคของสารแขวนลอยจะตกตะกอนออกมา แต่ถ้าอนุภาคมีขนาดเล็กจะกระจายแบบกลมกลืนจนดูเสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งทำให้แยกออกได้ยากกว่าเป็นสารแขวนลอยหรือคอลลอยด์ดังนั้นสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยจึงแบ่งได้โดยอาศัยขนาดของอนุภาคเป็นเกณฑ์ ซึ่งขนาดของสารแขวนลอย > คอลลอยด์ > สารละลาย2.การกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนถึงแม้ว่าสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่ที่สุด แต่บางครั้งก็ดูกลมกลืนจนตัดสินด้วยตาเปล่าไม่ได้ ในทางปฏิบัติจึงใช้วิธีตรวจสอบขนาดของอนุภาคโดยใช้กระดาษกรองและเซลโลเฟนกระดาษกรอง จะกรองอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-4 เซนติเมตรขึ้นไปเซลโลเฟน จะกรองอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-7 เซนติเมตรขึ้นไปก. สารละลาย จะกรองผ่านได้ทั้งกระดาษกรอง และเซลโลเฟน เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 10-7 เซนติเมตรข. คอลลอยด์ จะกรองผ่านกระดาษกรองได้ แต่กรองผ่านเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-7 เซนติเมตร(จึงผ่านเซลโลเฟนไม่ได้) และเล็กกว่า 10-4 เซนติเมตร(จึงผ่านกระดาษกรองได้) นั่นคือมีขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตรค. สารแขวนลอย จะกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตรสาร1.สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้มี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ1.1) ของแข็ง หมายถึง สารที่มีรูปร่างขอบเขตที่แน่นอน โมเลกุลอยู่ชิดกันมากที่สุด1.2) ของเหลว หมายถึง สารที่มีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลอยู่ห่างกันมากกว่า ของแข็ง1.3) ก๊าซ หมายถึง สารที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยมาก2.สาร (Substance) หมายถึง สสารนั่นเอง สสารเป็นคำรวมๆ แต่ถ้าพิจารณาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่าสาร เช่น กระป๋องเป็นสสาร แต่เนื้อกระป๋องเป็นโลหะจัดเป็นสาร สารแบ่งตามลักษณะเนื้อสารได้ 2 ชนิดดังนี้2.1) สารเนื้อเดียวหมายถึง สารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วน มีสมบัติเหมือนกันไม่ว่าจะพิจารณาส่วนใดของสาร จะมองด้วยตาเปล่า หรือแว่นขยายแล้วเห็นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอดเนื้อสาร เช่น น้ำหวาน น้ำเกลือ เป็นต้น2.2) สารเนื้อผสมหมายถึง สารที่เกิดจากการรวมกันของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยไม่ผสมกลมกลืนกัน แต่ละส่วนมีสมบัติต่างกัน หรือคือสารที่มองด้วยตาเปล่าแล้วเป็นเนื้อผสม เช่น พริกผสมเกลือ เป็นต้น3.สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะประจำตัวของสาร เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย การนำไฟฟ้า จุดเดือด และการเผาไหม้ เป็นต้น สารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกันทุกประการ สามารถนำมาจัดจำแนกสารเป็นหมวดหมู่ได้ สมบัติของสารได้แก่ สี กลิ่น รส จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้า การเป็นสนิม ความเป็นกรด-เบส โดยทั่งไปสมบัติของสารจำแนกได้ 2 ประเภท คือก. สมบัติทางกายภาพ หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองง่ายๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างทางกายภาพได้แก่ สถานะ รูปร่าง สี กลิ่น รส การละลาย จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความร้อนแฝง ความถ่วงจำเพาะ เป็นต้นข. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เป็นต้น ในการศึกษาสมบัติของสารนั้น สมบัติบางประการสามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก และบางประการต้องทดลองจึงจะสังเกตเห็นได้ เช่น กำมะถัน และอะลูมิเนียมซัลไฟด์มีสมบัติหลายประการที่เหมือนกัน แต่ก็มีสมบัติหลายประการที่แตกต่างกัน
เขียนโดย ด.ญ. สุกัญญา วันดี โรงเรียนเมืองเชลียง